ชุดตรวจสารอะฟลาทอกซิน Aflatoxin B1 แบบรวดเร็ว ใช้ง่าย วัดระดับ5-100ppb

ชุดตรวจสารอะฟลาทอกซิน Aflatoxin แบบรวดเร็ว ของ Quicking Biotech ( ISO 9001 )

ใช้ในภาคสนาม กับงานห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่
Cut off : สามารถกำหนดเลือกขีดทดสอบได้เอง 4 ช่วงระดับ 5 ,10, 20 ถึง 100 ppb

ชุดทดสอบนี้มีความเฉพาะและไวต่อสารอะฟลาทอกซินรวมชนิด (หรือ ชนิด B1 ถ้าต้องการ) นำไปใช้ตรวจสอบได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือวัดผลยุ่งยาก (ไม่ต้องมีทักษะสูงในการทดสอบ) สามารถอ่านผลรวดเร็ว ได้ด้วยตาเปล่า ในเวลา 10 นาที
จึงทำการตรวจสอบธัญพืชในไร่นา ได้ตั้งแต่ต้นทางการผลิต จนถึง หลังการเก็บเกี่ยวเหมาะสำหรับ หน่วยบริการควบคุมคุณภาพ โรงงานอาหารสัตว์ และ กลุ่มผู้ค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ เกษตรกร สหกรณ์ และ โรงงานแปรรูปอาหาร

สารอะฟลาทอกซิน เป็นสารพิษปนเปื้อนในอาหารชนิดหนึ่ง ที่ผลิตจากเชื้อราแอสเพอร์จิลลัส ฟลาวัส และ แอสเพอร์จิลลัส พาราซิติคัส สร้าง ปัญหาในการบริโภคทั้งในอาหารมนุษย์และอาหารสัตว์ สารนี้มีคุณสมบัติทนต่อความร้อนสูงได้ ซึ่งหากบริโภคจำนวนมากทำให้อาการท้องเดิน อาเจียน ชัก หมดสติได้ ถ้าบริโภคสะสมน้อยๆ จะเป็นสารก่อมะเร็ง โดยเฉพาะที่ตับ
 
สารอะฟลาทอกซิน จำแนกออกได้หลายชนิด คือ AFB1, AFB2, AFG1, AFG2 เป็นต้น
จะพบปนเปื้อนได้ในธัญพืช ถั่วสิสง ข้าวโพด ถั่วอัลมอนด์ ทรีนัดส์ เมล็ดน้ำมัน  พริก  ข้าว ถั่วเหลือง แป้งข้าวสาลี และอื่นๆ และ AFM1, AFM2 จะพบปนเปื้อนในน้ำนม สารอะฟลาทอกซิน
ส่วนในธัญพืชส่วนมากจะพบเป็นแบบ AFB1

ประเทศไทย กำหนดให้พบสารอะฟลาท็อกซินรวมทุกชนิดในอาหาร มีได้ไม่เกินกว่าระดับ 20 ppb หรือ 20ส่วนในพันล้านส่วน หรือ 20 ไมโครกรัมในอาหาร1กิโลกรัม
                                                                     
ความมุ่งหมายในการใช้ INTENDED USE: 

ชุดทดสอบอะฟลาทอกซิน นี้เป็นแบบบ่งบอกคุณภาพ (qualitative)
ใช้ ตรวจระดับสารเบื้องต้นในภาคสนาม ฟาร์ม หรือ จุดคัดแยก รับซื้อผลิตภัณฑ์หลังการขนส่ง และแปรรูป โดยหลักการอิมมูโนโครมาโทกราฟี ที่เป็นวิธีการตรวจที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เนื่องใช้งานได้ง่าย สะดวก ใช้เวลาทดสอบ 10 นาที ไม่ต้องใช้เครื่องมือวัดผล มีผลการตรวจใกล้เคียงกับวิธีทางห้องปฏิบัติการ ELISA เหมาะสำหรับตรวจวัตถุดิบ  ข้าวโพด ถั่วสิสง ถั่วอัลมอนด์ ทรีนัดส์ เมล็ดน้ำมัน พริก และ ธัญพืชอื่นๆ โดยเกษตรกร หรือ บุคลากรทั่วๆไป
 
หลักการทดสอบ PRINCIPLE: 

หลักการอิมมูโนโครมาโทกราฟี แบบcompetitive-binding
ที่เป็นปฏิกริยาเฉพาะระหว่างแอนติเจนและแอนติบอดี แต่เป็นการแย่งกันจับแอนติบอดีที่เคลือบไว้บนแผ่น membrane ของ แอนติเจนที่ทดสอบ และแอนติเจนในสิ่งส่งตรวจ ดังนั้นจะแสดงผล ปรากฏเส้นควบคุม (C) เมื่อมีความพร้อมจะอ่านผลทดสอบได้อย่างถูกต้อง และ เส้นทดสอบ (T) จะปรากฏขึ้นเมื่อมีผลทดสอบเป็นลบ คือ มีสารอะฟลาทอกซิน น้อยกว่าที่กำหนด (มีให้เลือกแบบขีดทดสอบต่างๆ ที่ระดับ 5-100 ppb) โดยที่เส้นทดสอบ (T) จะไม่ปรากฏเมื่อมีผลเป็นบวก


ชุดทดสอบมีให้  MATERIALS PROVIDED: 

ห่ออะลูมิเนียมบรรจุแผ่นทดสอบสารAFB1 พร้อมหลอดหยดสาร และสารดูดความชื้น จำนวน 10 ห่อ

Options เลือกหลอดบรรจุสารเจือจาง 0.3 mL จำนวน 10 หลอด/    หลอดปั่นทดสอบ centrifugal tube (15mL) จำนวน 1 หลอด / ขวดบรรจุสารเจือจาง5 mL หรือ อื่นๆ  / คู่มือการใช้งาน 
 
ชุดอุปกรณ์ที่ต้องการอื่นๆ MATERIALS REQUIRED BUT NOT PROVIDED
# เครื่องบดผงกาแฟ   #เครื่องชั่ง ระดับความไว  0.1  กรัม #เครื่องแก้ว : ขวดแก้วก้นชมพู่  Erlenmeyer flask, ถ้วย beaker, กรวยกรอง filter funnel, กระบอกตวง graduated cylinder,
หลอด cuvette, หลอดแก้ว burette, #เครื่องดูดจ่ายสาร pipettor และ กระดาษกรอง filter paper, กระดาษซับ sop paper
 
ข้อควรระวัง PRECAUTIONS               
1) การทดสอบต้องเป็นไปตามข้อแนะนำนี้
2) ควรระมัดระวังการนำส่งตัวอย่าง ทดสอบ ในภาชนะที่เหมาสม เพราะมีโอกาสรับพิษ
3) อย่าฉีกห่อบรรจุแผ่นทดสอบทิ้งไว้ จนกว่าจะทำทดสอบ
4) อย่าใช้ชุดทดสอบซ้ำ อุปกรณ์เครื่องมือที่นำมาใช้ซ้ำอีก ต้องผ่านการล้างจนหมดสารตกค้าง
5) นำชุดตรวจออกจากตู้เย็นมาตั้งเตรียมไว้ เพื่อทดสอบที่อุณหภูมิห้อง
6) อย่าใช้ชุดตรวจที่หมดอายุ
7) น้ำยาที่มีให้แต่ละชุด (lot) มีการควบคุมคุณภาพที่ความเหมาะสมกันแล้ว ไม่นำมาคละปนกัน
8) สุ่มเก็บตัวอย่างหลายๆจุด ตามเทคนิคที่เหมาะสมกับจำนวนหีบห่อ- บรรจุ หรือ ปริมาณบรรทุก
 
การเก็บรักษา STORAGE INSTRUCTIONS
ให้เก็บรักษาในตู้เย็นที่  2 –8ºC หรือ อุณหภูมิห้อง 30ºC อย่าเก็บในที่โดนแสงแดด จะสามารถใช้งานได้จนถึงเดือน-ปี ที่ระบุไว้
 
วิธีสกัดสารอะฟลาทอกซินออกจากตัวอย่างวัตถุดิบต่างๆ EXTRACTION PROCEDURE 

เพื่อเตรียมการตรวจวิเคราะห์  สำหรับ ธัญพืช (ข้าวโพด, ข้าวสาลี, ข้าวเบเล่ย์, ข้าวไรน์, ข้าวโอ็ต, ข้าวฟ่าง, คาโนล่า), แป้งถั่วเหลือง, ถั่วเมล็ดแห้ง
 
 1). ให้บดตัวอย่าง ให้มีขนาดเดียวกับผงกาแฟละเอียด  (ผ่านตะแกรง 20x20 รูต่อตารางนิ้ว ได้ 50 เปอร์เซนต์)
 2). แบ่งชั่งสาร 2 กรัม ใส่ลงในหลอด centrifugal tube
 3). ใส่น้ำ 4 มิลลิลิตร (mL)ใส่สารสกัด Ethyl acetate 4 มิลลิลิตร(mL) หรือ น้ำ ลงในหลอด centrifugal tube แล้วเขย่า แรงพอประมาณ 5 นาที ตั้งทิ้งไว้ หรือ ปั่นตกตะกอนด้วยเครื่องปั่นที่ความเร็ว 4,000 รอบต่อนาที ประมาณ 1 นาที จากนั้นเก็บตัวอย่างส่วนบนใส่ 2 มิลลิลิตร (mL) ในหลอดบรรจุสารเจือจาง
 4). เป่าลมจนสารในหลอดแห้ง แล้วละลายด้วยสารเจือจาง xxx ตามขีดทดสอบที่ต้องการตามกำหนดในเอกสารกำกับ   
 5). ตัวอย่างที่ได้พร้อมจะนำไปทำการทดสอบ
 
แต่ทั้งนี้สำหรับ ถั่วเมล็ดแห้ง (ถั่วสิสง, ถั่วคั่ว, ถั่วอัลมอนด์, ถั่วฮาเซลนัต, ถั่วบราซิล, ถั่วแมคคาเดเมีย), พิสทาชิโอ, แป้งมะพร้าว, เมล็ดทานตะวัน, มะม่วงหิมพานต์ และ เมล็ดน้ำมัน oilseed ประเภทถั่ว groundnut มีการเตรียมตัวอย่างโดย เริ่มสกัดจากตักสาร 2 กรัม ใส่ในถ้วยบีกเกอร์ เติมสารละลายไขมัน (n-Hexane) ปริมาตร 8 มิลลิลิตร(mL) เขย่าแล้วย้ายไปกรวยแยก (หรือ หลอดไซริงค์20ซี.ซี.)  เติมน้ำ ปริมาตร 4 มิลลิลิตร (mL) แล้วเขย่า 3 นาที ,ตั้งไว้ให้ตกตะกอนแยกชั้นน้ำมัน  แล้วเทหรือดูดชั้นไขมัน(n-Hexane) ส่วนบนทิ้งไป  ใส่สารสกัด Ethyl acetate 4 มิลลิลิตร(mL) แล้วดูดชั้น Ethyl ออกไป 2 มิลลิลิตร (mL) แล้ว ทำต่อขั้นที่ 4).



วิธีทดสอบ TEST PROCEDURE
1) อ่านคู่มือนี้ก่อนทดสอบ นำชุดทดสอบ จากตู้เย็นออกมาตั้งไว้ จนได้อุณหภูมิห้อง
2) ฉีกห่ออะลูมิเนียมบรรจุแผ่นทดสอบสารชนิด AFB1 เมื่อทดสอบ Aflatoxin B1 / หรือ Total Aflatoxin  เมือทดสอบอฟลาท๊อกซินรวมแบบรวม นำมาวางแนวระนาบลงบนโต๊ะ
3) หยดตัวอย่างทดสอบ 3 หยด ลงที่ช่อง “S” เริ่มจับเวลา
4) รอเวลา 8-10 นาที แล้ว อ่านผล  (ไม่อ่านผลเมื่อนานเกิน 12 นาทีแล้ว)
 
 
วิธีการอ่านวิเคราะห์ผล INTERPRETATION OF RESULTS อ่านผลได้เมื่อปรากฏเส้นควบคุม (C) ที่แสดงความถูกต้องในการทดสอบ และ ปรากฏเส้นสีทดสอบที่ (T)

ผลทดสอบเป็นลบNegative คือ อาจมีสารอะฟลาทอกซิน น้อยกว่าระดับทดสอบ ทั้งนี้เส้นทดสอบ (T) จะไม่ปรากฏ หรือ สีซีดไปมาก เมื่อมีผลเป็นบวกPositive แต่หากไม่ปรากฏเส้นสี (C) ทดสอบผิดพลาด Invalid

ขีดจำกัดของการทดสอบ LIMITATION 

ผลการทดสอบที่ได้นี้ เป็นแบบคัดกรองเบื้องต้น จากผู้ผลิตที่ได้รับมาตรฐานสากล ISO 9001 จึงจะต้องตรวจยืนยันผลด้วยวิธีทดสอบ HPLC หรือ เทียบเท่า จากห้องปฏิบติการ ISO17025

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 148,363