การตรวจเฝ้าระวังในClean Room
การตรวจเฝ้าระวังในห้องสะอาด Clean Room
1. การตรวจเฝ้าระวังการปนเปื้อนจากอนุภาคจุลินทรีย์
2. การตรวจเฝ้าระวังการปนเปื้อนจากอนุภาคฝุ่นละออง
3. การควบคุมความเร็วลมและการถ่ายเทอากาศ
4. การควบคุมความแตกต่างของความดันอากาศ
5. การควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Control)
6. การควบคุมความชื้น (Humidity control)
7. การตรวจสอบคุณภาพอากาศ IAQ ในอาคาร
1 การตรวจเฝ้าระวังการปนเปื้อนจากอนุภาคจุลินทรีย์
ห้องสะอาด เช่น สถานที่ผลิตยาปราศจากเชื้อ จะต้องมีการรตรวจสอบหาเชื้อจุลินทรีย์ด้วยวิธีการวางจานเพาะเชื้อ (settle plates) การเก็บตัวอย่างเชื้อบริเวณพื้นผิว (surface sampling) การเก็บตัวอย่างจากอากาศ (Air sampling) หรือวิธีการอื่น ๆที่เหมาะสม การตรวจสอบจะต้องมีการเก็บบันทึกไว้ ถ้าผลที่ได้รับเบี่ยงเบนไปจากเดิมจะต้องแก้ไขทันที
1.1 การวางจานเพาะเชื้อ (settle plate)
วิธีการที่ใช้ตรวจเชื้อจุลินทรีย์ ในอากาศภายในห้องผลิตยาปราศจากเชื้ออย่างกว้างขวาง โดยการวางจานเพาะเชื้อที่บรรจุอาหารเลี้ยงเชื้อให้ถูกกับอากาศ ภายในห้องตามเวลาที่กำหนด การกำหนดจุดวางจานเพาะเชื้อเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดวิกฤติที่มีการบรรจุยา ควรวางอย่างน้อยห้องละ 2 อัน ใช้เวลา 30 นาที วางตามจุดที่กำหนดไว้ในแผนผัง หลังจากนั้นนำจานเพาะเชื้อไป incubate ที่อุณหภูมิที่เหมาะสม นับจำนวนโคโลนีหาชนิดของเชื้อ และนำไปประเมินผลต่อไป
1.2 การเก็บตัวอย่างจากอากาศ (Volumetric Air Sampling) เป็นวิธีการที่ใช้วัดจำนวนเชื้อ ซึ่งไม่สามารถทำได้โดยวิธีวางจานเพาะเชื้อในบริเวณปราศจากเชื้อ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ Slit-to-agar , Impact sampler , Reuter Centrifugal sampler เครื่องมือเหล่านี้ใช้วัดปริมาณอากาศที่ตกกระทบบนผิวของอาหารเลี้ยงเชื้อ หากอากาศมีการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์จะมีโคโลนีของเชื้อปรากฏอยู่บนพื้นผิวของอาหารเลี้ยงเชื้อดังกล่าวภายหลังการ incubate ที่อุณหภูมิและเวลาที่กำหนด นำผลที่ได้ไปประเมินคุณภาพของอากาศต่อไป อัตราการเก็บตัวอย่าง และ ระดับการปนเปื้อนสูงสุดถูกกำหนดขึ้นโดยผู้ทำการทดสอบตามวิธีการของเครื่องมือที่ใช้ แต่องค์การ NASA แนะนำไว้ว่าจำนวน เชื้อจุลินทรีย์ภายใต้บรรยากาศที่เป็น laminar air flow ควรมีไม่เกิน 0.1 โคโลนี / ลบ.ฟุต (5 โคโลนี/ลบ.เมตร)
1.3 สวอบ (swab)
เป็นวิธีการเก็บตัวอย่างเชื้อจุลินทรีย์บนพื้นผิวที่มีลักษณะโค้งนูน จนไม่สามารถใช้วิธี contact plateได้ การสวอบทำได้โดยจุ่มสวอบที่ทำให้ปราศจากเชื้อที่เหมาะสม แล้วนำไปจุ่มในอาหารเลี้ยงเชื้อนำสวอบเช็ดบนพื้นที่ต้องการทดสอบที่เวลาและอุณหภูมิที่กำหนดให้ ปกติ 370C, 24-48 ชม. การสวอบควร standardize วิธีการ เช่น ควรสวอบบนพื้นที่เท่า ๆ กัน (คือประมาณ 4 ตารางนิ้ว) เช็ดบริเวณทีสวอบแล้ว ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่เหมาะสม ใช้สวอบในการเก็บตัวอย่างแยกกัน สำหรับพื้นที่ต่างกันและประเมินผลแยกกัน ตามพื้นที่ และวันที่หลังการ incubation ไม่ควรมีเชื้ออยู่เลยสำหรับพื้นที่สำคัญ ๆ
1.4 จานสัมผัสเชื้อ Contact plates (Rodac plates)
เป็นการเตรียมจากอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีส่วนผสมของวุ้น (agar)ในลักษณะของอาหารเลี้ยงเชื้อที่นูนออกมาเหนือจานเพาะเชื้อเมื่อต้องการเก็บตัวอย่างเชื้อจุลินทรีย์ ให้เปิดฝาจานเพาะเชื้อซึ่งฆ่าเชื้อแล้วออก แล้วกดอาหารเบา ๆ ไปบนพื้นผิวที่ต้องการทดสอบเชื้อ ปิดฝาจานเพาะเชื้อนำไป incubate ตามเวลาและอุณหภูมิที่กำหนดให้ นับจำนวนเชื้อต่อหน่วยพื้นที่
เทคนิคนี้เหมาะสำหรับตรวจเชื้อบนพื้นผิวที่มีลักษณะเรียบและแบน เช่น เครื่องมือผลิต พื้น ฝาผนัง และตามถุงมือ เสื้อผ้าของพนักงาน การใช้จานสัมผัสเชื้อทดสอบเชื้อที่เครื่องแต่งตัวและถุงมือของพนักงานนั้นให้ทำหลังจากเลิกงานปกติแล้ว โดยสุ่มตัวอย่างที่ข้อศอกเสื้อ ปลายแขนเสื้อ และที่อื่น ๆ จุดต่าง ๆ ที่สัมผัสกับจานเพาะเชื้อจะต้องเช็ดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่เหมาะสม เพื่อกันการตกค้างของอาหารเลี้ยงเชื้อ ซึ่งจะทำให้เกิดการปนเปื้อนต่อไปได้ บ่งชี้ทุกจานเพาะเชื้อโดยแสดงถึงจุดที่ทำการสุ่มตัวอย่างอย่างชัดเจน นำจานเพาะเชื้อเข้า incubator ถ้ามีเชื้อขึ้นจะต้องหาสาเหตุและแก้ไข เพื่อป้องกันหรือลดปริมาณการปนเปื้อนที่จะเกิดขึ้นอีกและจะต้องมีการบันทึกด้วย
จำนวนโคโลนีที่มากที่สุด จะต้องไม่เกิน 100 โคโลนีต่อตารางฟุต
2 การตรวจเฝ้าระวังการปนเปื้อนจากอนุภาคฝุ่นละออง
2.1 การตรวจแผ่นกรอง HEPA
โดยวิธีตรวจหาสาร DOP (DOP test for HEPA Filter) ประสิทธิภาพในการกรองอนุภาคซึ่งมีขนาดเล็ก 0.3 um. ได้อย่างน้อย 99.97 % เพื่อให้แน่ใจได้ว่า HEPA Filter ยังทำงานได้ดีไม่มีความเสียหาย (การรั่ว) เกิดขึ้นในระห่างการติดตั้งหรือการปฏิบัติงาน การทดสอบ filter ควรจะกระทำหลังจากมีการวัดความเร็วลม และมีการปรับควมเร็วลมตามความจำเป็นจนเป็นผลที่ได้รับเป็นที่ยอมรับแล้ว
การทดสอบควรกระทำโดยผู้ที่มีความสามารถ และทดสอบโดยการพ่นไอของ DOP (Dioctyl Phhalate particle) ผ่านport ของแผ่นกรองเข้าไปด้านบนแล้วตรวจหารอยรั่วทางด้านล่างของแผ่นกรอง โดยใช้ aerosol probe ถือ photometer probe ให้ห่างผิวหน้าแผ่นกรองประมาณ 1 นิ้ว scan probe ผ่านผิวหน้าแผ่นกรองทั้งกมดไปมาอย่างช้า ๆโดยมีอัตราความเร็วไม่มากกว่า 10 ฟุตต่อนาที ใช้ photometer probe ผ่านไปรอบด้านข้างของแผ่นกรองให้ทั่วผ่านไปตามรอยเชื่อมต่อระหว่างแผ่นกรองและกรอบ และ ผ่านไปตามจุดรอยเชื่อมอื่น ๆ ในการติดตั้งซึ่งอาจทำให้เกิดรอยรั่วโดยลมผ่านออกมาได้โดยไม่ผ่านแผ่นกรอง
การรั่วของ HEPA Filter ที่ไม่สามารถยอมรับได้คือ 0.01 % ของระดับมาตรฐาน เมื่อมีรอยรั่วเกิดขึ้นแก้ไขได้ โดยใช้กาวซิลิดโคน อุดรอยรั่วเป็นบริเวณกว้าง 1-2 นิ้วจากจุดที่รั่ว และทำการตรวสอบรอยรั่วซ้ำเหมือนเดิม การอุดรอยรั่วต้องไม่มากกว่า 5% ของพื้นที่กรอง หรือลมที่ออกมายังบริเวณที่ทำงานไม่เปลี่ยนแปลง ถ้ามีการอุดรอยรั่วเกิน 5 % ต้องทิ้งแผ่นกรองไป แล้วทำการติดตั้งแผ่นกรองชุดใหม่
2.2 การตรวจอนุภาคในอากาศ (Airborne Particle Count Test)
ตามที่อากาศที่จะผ่านเข้าไปในบริเวณสะอาด หรือ ปราศจากเชื้อนั้นจะต้องผ่านการกรองเสียก่อน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนที่จะมาจากอากาศ ซึ่งระดับความสะอาดขึ้นกับจำนวนของอนุภาค 0.5 um. หรือใหญ่กว่าต่อลูกบาศก์ฟุตของอากาศ จำนวนอนุภาคในอากาศหาได้โดยการสุ่มตัวอย่างอากาศตามที่ และ เวลาทีกำหนด เพื่อให้มั่นใจว่าในสถานที่ที่ต้องการความสะอาดสูง ๆ (critical work location) จะมีอนุภาคไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ เช่น ไม่เกิน 100 อนุภาคต่อลูกบาศก์ฟุตของอนุภาคขนาด 0.5 um หรือใหญ่กว่าอุปกรณ์ที่ใช้ตรวจสอบคือ light scattering particle counter
วิธีทดสอบต้องทำโดยผู้ที่มีความสามารถและทำหลังจากผ่านการทดสอบรอยรั่วและความเร็วลมของHEPA Filter เรียบร้อยแล้ว เริ่มเราต้องทดสอบห้องในสภาวะที่ไม่มีการทำงานทั้งของบุคลากรและเครื่องจักร โดยใช้เครื่องนับอนุภาค นับจำนวนของอนุภาคที่มีขนา 0.5 um. หรือใหญ่กว่า ในจุดที่สูง 40 นิ้ว จากจุดศูนย์กลางของแต่ละ grid ถ้าการนับอนุภาคได้น้อยกว่า 50 ต่อลูกบาศก์ฟุตของอากาศให้นับซ้ำในตำแหน่งเดิมอีก 4 ครั้ง
หลังจากทำการทดสอบรอยแรกแล้ว ถ้า HEPA air filtration module ทำงานอยู่ในช่วงที่กำหนดให้ทดสอบซ้ำ โดยให้มีบุคลากรและเครื่องจักรทำงานตามปกติ ถ้าช่วงใดมีการเบี่ยงเบนไปไปจาก่ายอมรับได้ต้องทดสอบส่วนต่าง ๆ ของระบบ ทำการซ่อม หรือ ปรับจนกระทั่งได้สภาวะที่ต้องการ
สมรรถภาพของะบบอากาศถือว่าผ่านการตรวจสอบความถูกต้องได้ ต่อเมื่อผลของการทดสอบ3ครั้งติดต่อกันอยู่ในช่วงที่กำหนด
3 การควบคุมความเร็วลมและการถ่ายเทอากาศ
ห้องสะอาดเป็นห้องที่จัดสร้างขึ้นมาให้ได้ระดับอากาศที่สมดุลย์ และสามารถจ่ายอากาศจำนวนเพียงดพ เพื่อให้ได้ความเร็วลมอย่างน้อย 90 ฟุตต่อนาที โดยวัดใต้ HEPA Filter 6 นิ้ว อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจสอบความเร็วของอากาศหรือลมที่ผ่านแผ่นกรอง คือ anemometer
การทดสอบนี้ทำโดยบุคลากรที่ยอมรับให้ทำการทดสอบในทุกห้องที่มี HEPA Filter ติดตั้งอยู่ ต้องจำกัดจำนวนของพนักงานที่อยู่ในห้องในขณะไม่ได้ทำงานให้มีจำนวนน้อยที่สุด การวัดต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 15 วินาที ผลการวัดความเร็วลมควรจะสูงกว่า 90 ฟุตต่อนาที และไม่มากกว่า 150 ฟุตต่อนาที ในจุดที่ห่างจาก HEPA Filter ระยะ 6 นิ้ว
อ้างอิงตารางการจัดระดับความสะอาดของอากาศจาก Federal Standard 209E
อ้างอิงตารางจำนวนและขนาดอนุภาคของห้องสะอาด
ความเร็วลมของLaminar air flowแนวราบ(horizontal flow) 0.45 ±0.1m/s ส่วนความเร็วลมของLaminar air flowแนวดิ่ง (vertical flow) 0.30 ±0.05m/s
4 การควบคุมความแตกต่างของความดันอากาศ
อุปกรณ์ที่ใช้ตรวจสอบคือ Manometer ซึ่งมีขีดอ่านขนาด 0.01 นิ้วน้ำ เพื่อใช้ดูความสามารถของระบบควบคุมความดันว่าสามารถทำให้ระดับความดันอากาศได้ตามที่กำหนดหรือไม่
ความแตกต่างของความดันอากาศในบริเวณผลิตและแอร์ล็อคควรมีอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของอนุภาคและเชื้อโรคต่าง ๆ ความแตกต่างของความดันอากาศในแต่ละห้องที่มีระดับความสะอาดต่างกันควรจะต่างกันประมาณ 0.05 นิ้วน้ำ เมื่อประตูทุกบานปิดหมดและต้องเปิด HVAC (Heating ventilation and air-conditioning system) และระบบลามินาร์แอร์โฟลอย่างต่อเนื่องกัน
5 การควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Control)
เพื่อให้สภาพการทำงานสะดวกสบาย จึงต้องมีการควบคุมอุณหภูมิภายในห้องปกติจะปรับให้อุณหภูมิอยู่ที่ 720F±10%(220C ±10% ) อาจจะต้องลดอุณหภูมิให้ต่ำกว่านี้ ถ้าใช้เครื่องแต่งตัวพิเศษ
การควบคุมอุณหภูมิในห้องปฏิบัติการจะต้องเกี่ยวข้องกับ heating, ventilation และ air condition system (HVAC) ในห้องทำงานซึ่งมีตู้ฆ่าเชื้อ หรือตู้อบไฟฟ้าติดตั้งอยู่ ซึ่งจะเพิ่มความร้อนในห้องได้ ถ้าออกแบบระบบอากาศไม่พอเหมาะนอกจากจะทำให้บุคลากรที่ทำงานในห้องอึดอัดไม่สบายแล้ว ยังทำให้เกิดการปนเปื้อนสูง อันเนื่องมาจากเหงื่อของบุคลกรได้ ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจสอบอณหภูมิได้แก่ Dry bulb thermometer, Thermoanemometer หรือ Thermocouple และ Recorder
การตรวจสอบนั้นควรเปิด HVAC ไว้ก่อนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง และแสงสว่างต่าง ๆ จะต้องเปิดไว้ขณะที่ทำการตรวจสอบ วัดและบันทึกอุณหภูมิแต่ละห้อง การตรวจสอบนั้ควรกระทำทั้งในขณะที่ปฏิบัติงานอยู่และไม่มีการปฏิบัติงาน ค่าที่ยอมรับควรจะอยู่ที่720F ±(220 C ±) ตลอดเวลา
6 การควบคุมความชื้น (Humidity control)
ระดับความชื้นของห้องจะต้องถูกควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในการผลิตยาปราศจากเชื้อความชื้นสัมพัทธ์จะอยู่ระหว่าง 45%-55% แต่มีบางผลิตภัณฑ์ที่ต้องควบคุม ให้ความชื้นสัมพัทธ์อยู่ระหว่าง15%-30 % อุปกรณ์ที่ใช้ตรวจสอบได้แก่ Dry bulb และ Wet bulb thermometer และ automatic humidity recorder ก่อนที่จะทำการตรวจวัดจะต้องเดินเครื่องก่อนอย่างน้อย 6 ชั่วโมง ทำการตรวจวัดcละบันทึกผลทั้งในขณะทีไม่มีการปฏิบัติงานและขณะที่มีการปฏิบัติงานทุก ๆห้อง แสดงว่าระบบการทำงานของอากาศที่ควบคุมความชื้นที่เป็นที่ยอมรับได้
7 การตรวจสอบคุณภาพอากาศ IAQ ในอาคาร
มีการตรวจนับจำนวนรวมจุลชีพ (แบตทีเรีย ราและยีสต์) และ ตรวจระดับสารเคมีในอากาศ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide (CO2), ก๊าซคาร์บอนมอนน๊อกไซด์ Carbon Monoxide (CO), ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ Nitrogen Dioxide (NO2), ก๊าซฟอร์มาลดีไฮด์ Formaldehyde (HCHO)