ชุดทดสอบสารโลหะหนัก Heavy Metals Kit (low range)

ชุดตรวจสารตะกั่ว (Pb) ที่ระดับ 0.02ถึง2.00ppm

ชุดตรวจสารหนู อาร์ซีนิค (As) ที่ระดับ 0.01 ถึง1.0ppm

ชุดตรวจสารแคดเมียม (Cd) ที่ระดับ 0.01ppmถึง1.0ppm

นิยมใช้ตรวจสอบเบื้องต้น ตามข้อกำหนดของคุณภาพน้ำ เพื่อการบริโภค

ผลิตภัณฑ์ของ Osumex, CA







ชุดตรวจโลหะหนัก ตรวจแยกชนิดสำหรับตรวจสาร อะลูมิเนียม (Al) ·   อาร์ซีนิค-สารหนู(As)  ·  แคดเมี่ยม(Cd) ·  โคบอลต์(Co)·  โครเมี่ยม(Cr) · ทองแดง(Cu)  · เหล็ก(Fe) · เมอร์คิวรี-ปรอท(Hg) · ลีด-ตะกั่ว(Pb) ·  แมงกานีส (Mn)·  นิกเกิล(Ni) ·  ซิลเวอร์-เงิน(Ag) · ซิงค์ สังกะสี(Zn)

สำหรับตรวจการปนเปื้อนของโลหะหนัก ในน้ำ น้ำบริโภค น้ำทิ้ง อาหาร สิ่งขับถ่าย สีทาผนังอาคาร สีฉาบบนของเด็กเล่น น้ำเสียจากโรงงาน และ ตรวจติดตามการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม  

HMT Aluminium Kit สำหรับตรวจสารอะลูมิเนียม  

HMT Arsenic Kit สำหรับตรวจสารอาร์ซีนิค ( สารหนู)

HMT Cadmium Kit สำหรับตรวจสารแคดเมี่ยม 

HMT Chromium Kit สำหรับตรวจสารโครเมี่ยม 

HMT Cobalt Kit สำหรับตรวจสารโคบอลต์ 

HMT Copper Kit สำหรับตรวจสารทองแดง 

HMT Iron Kit สำหรับตรวจสารเหล็ก 

HMT Lead Kit สำหรับตรวจสารตะกั่ว 

HMT Manganese Kit สำหรับตรวจสารแมงกานีส 

HMT Mercury Kit สำหรับตรวจสารปรอท 

HMT Nickel Kit สำหรับตรวจสารนิเคล 

HMT Silver Kit สำหรับตรวจสารซิลเวอร์ (สารเงิน) 

HMT Tin Kit สำหรับตรวจสารดีบุก   

HMT Thallium Kit สำหรับตรวจสารแทลเลียม 

HMT Zinc Kit สำหรับตรวจสารสังกะสี   

และ HMT General Kit ชุดทดสอบสำหรับตรวจกลุ่มโลหะหนัก แบบทดสอบหลายชนิด รวมพร้อมกันๆ


วิธีการเตรียมตัวอย่างต่างๆ ก่อนการทดสอบ

ตัวอย่างน้ำ ควรเก็บตัวอย่างน้ำไหลแรกออกจากก็อก ในตอนเช้า ในการทดสอบน้ำในระบบท่อส่ง ไม่ต้องเติมสารใดๆ ใช้ตัวอย่างน้ำจากสิ่งแวดล้อม  ประมาณ 3-4มิลลิลิตร เพื่อใช้ ในการทดสอบ แก้ว จานเซรามิก ใส่น้ำกลั่น  เขย่าแบบวนรอบกับสาร (เซรามิก หรือ ผลึกวาวใส-ตะกั่ว) ตั้งทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง เก็บตัวอย่างส่วนน้ำใสเหนือตะกอน  ประมาณ 3-4มิลลิลิตร เพื่อใช้ ในการทดสอบ ตัวอย่างอาหาร ฝุ่น ข้าว นม เป็นต้น

นำตัวอย่างสารที่ต้องการดังกล่าว บดแล้วใส่ลงในกล่องพลาสติกเล็กๆ หรือ หลอดทดสอบขนาด 50mL
ใส่น้ำกลั่น 30 มิลลิลิตร เขย่าอย่างแรง ตั้งทิ้งไว้ข้ามคืน (24 ชั่วโมง)
เก็บตัวอย่างส่วนน้ำใสเหนือตะกอน  ประมาณ 3-4มิลลิลิตร เพื่อใช้ ในการทดสอบต่อไป

ตัวอย่างอื่นๆ โปรดติดต่อบริษํท  (อาจต้องมีการปรับสภาพ ความเป็นกรด เพื่อสกัด อิออนของโลหะหนัก)
                                                                                                             
การอ่านผลโดยเทียบสีของสารละลายกับแผ่นบอกสี Color chart

สีเขียว หมายถึง ตรวจไม่พบกลุ่มโลหะหนัก
สีเทา  แสดงว่า มีโลหะหนักหลายชนิดผสมกันอยู่
สีน้ำเงิน-น้ำตาล แสดงว่า น่าจะเป็นโลหะทองแดง Cu หรือ โคบอลต์ Co
สีทราย แสดงว่ามี โลหะแคดเมี่ยม Cd หรือ นิกเกิล Ni
สีส้ม  แสดงว่า มีโลหะปรอท Hg ซึ่งต้องระวังในการอ่านสีที่คล้ายตัวอย่างจากน้ำลาย หรือ น้ำนม
สีชมพู  แสดงว่า มีโลหะสังกะสี Zn หรือ มังกานีส Mn
สีแดง แสดงว่า มีโลหะตะกั่ว Pb 
โปรดทราบ อ่านผลแล้วควรบันทึกภาพเทียบกับแผ่นสีเอาไว้ เพราะสีทดสอบจะจางหายไปในเวลา 30-60 นาที

 


 

*ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่98 เรื่องมาตรฐานอาหาร ที่มีสารปนเปื้อนตรวจพบสารปนเปื้อนได้ไม่เกินข้อกำหนดดังต่อไปนี้
  • ดีบุก       250 มก. ต่ออาหาร 1 กก.
  • สังกะสี    100 มก. ต่ออาหาร 1 กก.
  • ทองแดง   20 มก. ต่ออาหาร 1 กก.
  • ตะกั่ว         1 มก. ต่ออาหาร 1 กก.
  • สารหนู       2 มก. ต่ออาหาร 1 กก.
  • ปรอท      0.5 มก. ต่ออาหาร 1 กก. สำหรับอาหารทะเล และ ไม่เกิน 0.02 มก. ต่อ อาหาร 1 กก. สำหรับอาหารอื่นๆ 

 

Heavy_Metals_Test_Kit

Heavy Metals Test Kit

"สารโลหะหนัก" อันตรายใกล้ๆตัว

 

ปรอท(mercury) ปรอท เป็นโลหะหนักของเสีย อาจทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น โรงงานผลิตคลอรีน เครื่องใช้ไฟฟ้า สีทาบ้าน และอื่นๆเหล่านี้ เป็นแหล่งใหญ่ของปรอทที่ถูกปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมและไปปนเปื้อนอาหารปรอทที่ถูกปล่อยลงในน้ำจะไปสะสมในแพลงก็ตอนและเข้าสู่วงจรอาหาร(มักตรวจพบปรอทในสัตว์น้ำทั้งน้ำจืดและน้ำเค็มบริเวณชายฝั่งมากกว่าอาหารชนิดอื่น) บัคเตรีในน้ำบางชนิดเปลี่ยนปรอทในรูปอนินทรีย์ซึ่งมีพิษไม่มากให้เป็นสารอินทรีย์เช่นเมทิลเมอร์คิวรี (methyl mercury) ซึ่งมีพิษสูงได้ทั้งนี้การควบคุมกระบวนการผลิตและการกำหนดปริมาณปรอทในน้ำทิ้งจากโรงงานไม่เกิน 0.005 มก. ต่อ ลิตร จะช่วยลดปัญหานี้ได้มาก

 

 

แคดเมียม(cadmium) มักพบอยู่รวมกับสังกะสีในดินการถลุงแร่สังกะสีจะทำให้แคดเมียมฟุ้งกระจายในอากาศและลงสู่แหล่งน้ำนอกจากนี้อุตสาหกรรมการเคลือบโลหะการผลิตสีผสมพลาสติกและสีทาบ้านจะมีโลหะนี้ปนเปื้อนออกสู่สิ่งแวดล้อมด้วยแคดเมียมอยู่ในร่างกายได้นานเป็นสิบปีมักไปสะสมที่ตับและไตอาการพิษที่เกิดจากการบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนแคดเมียมพบไม่มากการป้องกันทำได้หลายด้านเช่นการกำหนดปริมาณแคดเมียมในของเสียจากโรงงาน (เช่น แคดเมียมในน้ำทิ้งจากโรงงาน ต้องไม่เกิน 0.03 มก. ต่อลิตร), กำหนดปริมาณแคดเมียมในภาชนะ และ วัสดุที่ใช้สัมผัสหรือห่อหุ้มอาหาร

 

 

นิเกิล(nickel) มักพบนิเกิลและสารประกอบนิเกิลในดินน้ำสัตว์และพืชโดยนิยมนำไปผสมกับโลหะเพื่อเพิ่มความแข็งและความเป็นมันวาวในเครื่องประดับเหรียญนิเกิลจะถูกดูดซึมบริเวณลำไส้เล็กและสะสมบริเวณกระดูกตับปอดและไตถ้ามีนิเกิลสะสมในร่างกายปริมาณมากจะส่งผลให้การดูดซึมธาตุเหล็กลดน้อยลงส่งผลให้เกิดอาการไอจามปวดหัวคลื่นไส้อาเจียนปวดท้องและท้องเสียและมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคมะเร็งที่ปอด ทั้งนี้ปริมาณนิเกิลในน้ำทิ้งจากโรงงาน ไม่เกิน 1 มก. ต่อ ลิตร  ขณะที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 199 ปี2543กำหนดปริมาณนิเกิลในน้ำแร่ธรรมชาติ น้อยกว่า 0.02 มิลลิกรัมต่อน้ำแร่ธรรมชาติ 1 ลิตร

 

 

ดีบุก(tin) แหล่งแร่ดีบุกมีเฉพาะภูมิภาคบางแห่งของโลกไทยเป็นแหล่งแร่ดีบุกใหญ่แห่งหนึ่งในโลกดีบุกสะสมอยู่ในพืชได้น้อยกว่าตะกั่วกระป๋องบรรจุอาหารทำจากแผ่นเหล็กเคลือบดีบุกเพื่อป้องกันการกัดกร่อนของเหล็กและเคลือบทับด้วยสารสังเคราะห์บางประเภทอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันดีบุกละลายผ่านออกมาแต่หากนำไปบรรจุอาหารที่มีสารบางชนิดปนอยู่หรือการเก็บอาหารกระป๋องในที่ร้อนดีบุกจะละลายมาในอาหารได้นอกจากนั้นเมื่อเปิดกระป๋องแล้วออกซิเจนจากอากาศจะเป็นตัวเร่งให้ดีบุกละลายมากขึ้นอาหารกระป๋องจึงเป็นแหล่งสำคัญที่ผู้บริโภคมีโอกาสได้รับธาตุดีบุกมากกว่าอาหารประเภทอื่นขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับพิษสะสมของดีบุกเคยมีรายงานการป่วยเนื่องจากพิษเฉียบพลันจากการดื่มน้ำผลไม้กระป๋องซึ่งมีดีบุกปนเปื้อนมากกว่า 250 มิลลิกรัมต่อลิตรโดยมีอาการคลื่นไส้อาเจียนท้องเดินและมีไข้หลายประเทศพยายามควบคุมปริมาณดีบุกในอาหารกระป๋องให้มีน้อยที่สุดแต่ในบางประเทศยังทำได้ยากเพราะอยู่ในเขตร้อนโอกาสที่ดีบุกจะละลายออกมา ย่อมมีมากกว่าประเทศเขตหนาว

 

 

ตะกั่ว(lead) สารตะกั่วที่ปนเปื้อนอาหารนั้นมาจากอากาศร้อยละ 90ไอเสียรถยนต์เป็นตัวแพร่กระจายที่สำคัญเนื่องจากการใส่สารประกอบตะกั่ว (lead tetraethylene) ในน้ำมันรถยนต์เพื่อกันเครื่องยนต์น็อคดังนั้นพืชผักที่ปลูกใกล้ถนนจะมีโอกาสปนเปื้อนตะกั่วมากแต่สามารถล้างขจัดออกได้ นอกจากนั้นอาจพบตะกั่วในดินบางแห่งมากเช่นบริเวณใกล้โรงงานถลุงแร่หรือโรงงานอุตสาหกรรมในการผลิตกระป๋องบรรจุอาหารใช้แผ่นเหล็กเคลือบดีบุกมาเชื่อมต่อกันด้วยโลหะผสมตะกั่วจึงมีโอกาสที่ตะกั่วบริเวณตะเข็บกระป๋องด้านในจะละลายลงในอาหารได้จากการตรวจพบตะกั่วในอาหารเกือบทุกประเภท1 ใน 3ของอาหารที่มีตะกั่วปนเปื้อนเป็นอาหารกระป๋องเพื่อลดปัญหานี้จึงได้พัฒนาวิธีเชื่อมกระป๋องบรรจุอาหารโดยใช้กระบวนการอิเล็กทรอนิกส์แทนวิธีเดิม สำหรับปริมาณตะกั่วในน้ำทิ้งจากโรงงาน ต้องไม่เกิน 0.2 มก. ต่อ ลิตร 

 

 

สารหนู(arsenic) เป็นธาตุกึ่งโลหะในธรรมชาติอาจมีในน้ำบาดาล แต่มักพบเป็นสินแร่ในลักษณะเป็นสารประกอบกับธาตุอื่นๆเช่นเหล็กทองแดงนิเกิลโดยอาจอยู่ในรูปอาร์เซไนด์หรือซัลไฟด์หรือ ออกไซด์ประเทศไทยพบมากในรูปอาเซโนไพไรต์หรือที่เรียกว่าเพชรหน้าแท่นเป็นสารประกอบของธาตุเหล็กสารหนูและกำมะถันซึ่งเป็นแร่ที่มักพบร่วมกับดีบุกพลวงและวุลแฟรมแร่นี้ผุพังสลายตัวเป็นสารที่ละลายน้ำได้ง่ายจึงละลายอยู่ในแหล่งน้ำทั่วไป หากได้รับในปริมาณมากมีอันตรายถึงตาย ตับหรือไตวาย สำหรับปริมาณสารหนูในน้ำทิ้งจากโรงงาน ไม่เกิน 0.25 มก. ต่อ ลิตร 

 

 

 

โครเมียม(chromium) มักพบในธรรมชาติอากาศน้ำและดินนิยมนำโครเมียมมาผสมในเหล็ก สารประกอบโครเมียมจะมีคุณสมบัติต้านทานต่อสนิมและการกัดกร่อนถ้ามีปริมาณโครเมียมในร่างกายมากจะส่งผลให้เกิดอันตรายต่อตับและไตอาจเสียชีวิตเนื่องมาจากตับและไตอักเสบเกิดอาการตกเลือดเซลล์ตับหยุดทำงาน

Visitors: 148,351