อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่ม F&B

 
วิธีการทดสอบความปลอดภัย ในทางห้องปฏิบัติการอุตสาหกรรมอาหารหรือเครื่องดื่ม 
 
โดยทั่วๆไป แบ่งการทดสอบออกเป็น 3-4 ด้าน ได้แก่
 
1) ด้านการตรวจสอบทางกายภาพ เป็นการตรวจสอบโดยประสามสัมผัส และ คุณภาพทางด้านสี เช่น การวัดสี จากเครื่องวัดค่าการดูดกลืนแสง ตลอดจนตรวจหาเศษสารปะปนต่างด้วย Liquid Detector
 
2) ด้านการตรวจสอบทางเคมี เป็นการตรวจสอบทางเคมีถึงองค์ประกอบต่างๆของอาหาร รวมไปถึงการหาสมบัติทางเคมีบางอย่าง เช่น วัด pH ความเป็นกรด-ด่าง ค่าความหวาน ความเค็ม TDS เป็นต้น 
 
นอกจากนี้ยังยังต้องตรวจหาสารอันตรายบางชนิดที่ปนเปื้อนในวัตถุดิบหรืออาจเกิดจากจากขบวนการผลิต เช่น 
 
•ตรวจสารยาฆ่าแมลง สารกำจัดวัชพืช จากในแหล่งน้ำ เช่น Glyphosate
•ตรวจหาโลหะหนัก Heavy metal เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม สารหนู สารประกอบไซยาไนด์ 
•ตรวจสารพิษจากสาหร่าย Algal toxins เป็นต้น
 
3) ด้านการตรวจสอบทางจุลชีววิทยา เป็นการตรวจสอบคุณภาพ ที่บ่งขี้ถึงความสะอาด ไร้เศษอาหารดั่งเดิมตกค้างจากการผลิตก่อนหน้า และ แสดงถึงความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ จากเชื้อจุลินทรีย์กลุ่มที่เป็นอันตราย ตามมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด* เช่น
 
•*ตรวจวัดจำนวนรวม CFUs ของเชื้อรวมทั้งหมด Total Viable Count หรือ เชื้อกลุ่มเฮทเทอโรโทรป 
•*ตรวจหาค่า MPN ของเชื้อ E. coil และ Total coliforms 
•*ตรวจหาจำนวนเชื้อก่อโรค เช่น เชื้อ  S. aureus , B. cereus
 
 
   ตลอดจนยืนยัน การตรวจสอบเครื่องจักรการผลิต แบบ CIP ในการตรวจติดตามทางด้านสุขอนามัย Hygiene Test ด้วยการวัด ระดับ RLUs จากเครื่อง ATP meter
 
4) การทดสอบด้านอื่นๆ เช่น ระดับรังสี Radio activity

 

สำหรับประเภทของเครื่องดื่มต่างๆ


1) เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ (Non- alcoholic Beverage)

•        น้ำดื่มบรรจุขวด 

•        น้ำแร่ธรรมชาติ (Natural Mineral Water)

•        Water Plus น้ำปรุงแต่ง ผสมสารวิตามิน

•        น้ำนม  (Dairy Milk)

•        นมถั่วเหลือง (Soy)

•        กาแฟ พร้อมดื่ม (Coffee)

•        เครื่องดื่มชา (Tea)

•        เครื่องดื่มโกโก้ (Cocoa)

•        น้ำผลไม้ (Juice)

•        น้ำผัก (Vegetable)

•        เครื่องดื่มให้พลังงาน (Energy Drinks) เติมเกลือแร่

•        เครื่องดื่ม Functional Drinks ผสมสาร* เพื่อสุขภาพ 

•        Sport Drinks เพิ่มพลังงานเร่งด่วน

•        เครื่องดื่มสมุนไพร (Herbal Juice) 

•        น้ำหวาน น้ำเชื่อม Syrup 

•        Soft drinks และ Sparking water/ Soda เครื่องดื่มอัดลม (Carbonated beverage) และ เครื่องดื่มชนิดผงเข้มข้น พกพาได้ 

 

2) เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (Alcoholic Beverage)

          *สุราหมัก (Fermented Drinks) หรือเมรัย ได้จากการนำเมล็ดธัญพืช เช่น ข้าวชนิดต่าง ๆ ผลไม้ เช่น องุ่น  น้ำตาลจากพืช เช่น น้ำตาลอ้อย น้ำตาลสด ไปหมักกับยีสต์จนเกิดปฏิกิริยาเปลี่ยนเป็นน้ำตาลเป็นแอลกอฮอล์ดีกรี อ่อน ๆ กลายเป็นน้ำเมาที่รสชาติดี ได้แก่

•        เบียร์

•        ไวน์

•        แชมเปญ

•        กระแช่

•        สาโท

•        น้ำตาลเมา 

•        สาเก  เป็นต้น

 

         **สุรากลั่น (Distilled Beverage) คือการนำสุราหมักมาผ่านกรรมวิธีการต้มกลั่นอีกครั้ง จนได้แอลกอฮอล์ที่มีดีกรีสูงขึ้น

•        วิสกี้

•        บรั่นดี

•        รัม

•        คอนยัค

•        เหล้าโรงหรือเหล้าขาว

•        และ สุราผสมพิเศษของไทยที่นำเหล้าโรงมาปรุงแต่งกลิ่นรส

 
Visitors: 150,818