มลพิษทางอากาศ ในเขตเมือง และภายในอาคาร

มลพิษอากาศในเขตเมือง

ในสภาวะปัจจุบันนี้ ถนนสายต่างๆ ยังแออัด ไม่พอที่จะรองรับจำนวนรถยนต์ สภาพรถติดได้ก่อผลที่ตามมา คือ มลพิษในอากาศ ที่เป็นปัญหาของคนกรุงเทพ ฯ และ คนในเขตเมือง เมื่อรวมกับแหล่งพิษอื่น ๆ เช่น การก่อสร้างถนน หรือ อาคารขนาดใหญ่แล้ว จะเห็นว่าคุณภาพของอากาศ อยู่ในขั้นเกือบวิกฤต และอาจจะเลวร้ายถึงขั้นเป็นอันตรายได้

สารมลพิษในอากาศ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ก๊าซโอโซน(O3)  ก๊าซไนโตรเจนไดอ๊อกไซด์ (NO2) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)  และ ฝุ่นอองขนาดต่ำกว่า10ไมครอน (PM10)

สารมลพิษเหล่านี้ สามารถหายใจเข้าสู่ร่างกายได้โดยตรง จึงใช้บ่งถึงคุณภาพอากาศ

ผลการตรวจวัดนี้ โดยฝ่ายคุณภาพอากาศและเสียง กองมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม จะแสดงให้เห็นได้ตามป้ายแสดงคุณภาพอากาศ ที่สี่แยกต่างๆ

ผลจากการตรวจวัดจะใช้เป็นเกณฑ์ให้หน่วยที่เกี่ยวข้องใช้เป็น มาตรฐานสำหรับการตรวจสอบ และควบคุมให้สภาพแวดล้อมของบรรยากาศ มีความเหมาะสมกับการดำรงชีวิต

จากการตรวจสอบพบว่า แหล่งชุมชนใหญ่ ๆ ที่มีการจราจรหนาแน่น และถนนอีกหลายสาย เป็นย่านที่น่ากลัว มีมลพิษในอากาศสูงกว่า 50
 (หากค่าดัชนีมาตรฐาน AQI นี้สูงกว่า 100    ถือว่าคุณภาพอากาศเลว มีผลกระทบต่อสุขภาพ)

ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพ เพราะเป็นสาเหตุสำคัญของโรคระบบทางเดินหายใจ หรือ เป็นสาเหตุ ให้เกิดการกำเริบโรคอื่น ๆ เช่น โรคภูมิแพ้ อากาศ หอบหืด

 เกณฑ์ของดัชนีคุณภาพอากาศสำหรับประเทศไทย

 
AQI          ความหมาย                     สีที่ใช้     แนวทางการป้องกันผลกระทบ


0-50         คุณภาพดี                       ฟ้า          ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
51-100     คุณภาพปานกลาง           เขียว       ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
101-200   มีผลกระทบต่อสุขภาพ     เหลือง     ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังภายนอกอาคาร

 

มลพิษทางอากาศภายในอาคาร 

ส่วนมากเกิดจากเนื่องจากอากาศภายในอาคาร มีการถ่ายเทไม่ดีพอ
เราจะได้รับสารพิษโดยคาดไม่ถึง จากสาร  Benzene, TCE และ Formaldehyde ที่มาจากของใช้รอบตัวเรานี่แหละ ไม่ว่าจะเป็น สเปรย์ใส่ผม, น้ำยาทำความสะอาด, น้ำยาทาไม้ต่างๆ, air fresheners, สีทาบ้าน, พรม, หมึก, หมึกพิมพ์, เครื่องถ่ายเอกสาร, ควันบุหรี่ หรือแม้แต่เสื้อผ้าซักแห้ง เป็นมลพิษสูงกว่าข้างนอกอาคาร ซึ่งเป็นสาเหตุของ "Sick Building Syndrome"
 
เมื่อต้องทำงานในoffice หรือ อยู่ในบ้านทั้งวัน เราต้องสูดเอาสารมลพิษไปเก็บสะสมเอาไว้ จะทำให้เกิดอาการมึนหัว เวียนหัว อาการคล้ายหวัด หรือ แพ้อากาศแล้ว สารเหล่านี้ยังเป็นสารก่อมะเร็งอีกด้วย เหล่านักวิทยาศาสตร์และแพทย์ต่างวิตกถึงผลกระทบในระยะยาวที่เกิดจากการรับสารที่ปริมาณต่ำนี้ไปเรื่อยๆ ซึ่งก็ยังไม่สามารถสรุปได้ในตอนนี้ บ้างก็ว่าอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของอัตราการเพิ่มขึ้นของโรคมะเร็ง
นอกจากนี้ยังมีปัญหาจากปัญหาการติดเชื้อจุลชีพในระบบทางเดินหายใจในอาคาร เช่น แบคทีเรียลีเจียนแนร์ และ สารชีวพิษของเชื้อรา Stachybotrys and Aspergillus niger ที่แขวนลอยอยู่ในอากาศอีกด้วย
 
หากพบสารมลพิษปนเปื้อนในอาคาร ควรมีแผนดำเนินการดังนี้
  • หาข้อบ่งชี้ว่ามีการปนเปื้อน 
  • สืบหาสาเหตุ
  • พิจารณาวิธีการทดสอบ
  • แก้ไขสาเหตุ
  • แยกสารต้องสงสัยออกไป
  • ควรทำการฆ่าเชื้อ เช็ดพื้นผิวสัมผัส พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อในอากาศ
  • ดูดฝุ่นทิ้งด้วยเครื่องดูดทำความสะอาดโดยสูญญากาศ แบบมีตัวกรอง Hepa 
  • ทดสอบ Indoor Pollutants : Carbon Dioxide (CO2), Carbon Monoxide (CO), Nitrogen  Dioxide (NO2),  Formaldehyde (HCHO), Bacteria Yeast&Mold
  • ติดตั้งเครื่องกรองอากาศ หรือ เครื่องบำบัดอากาศ แบบควบคุม หรือ ลดความชื้น
  • กำหนดโปรแกรมการตรวจติดตามผลคุณภาพอากาศ IAQ และพื้นผนัง พื้นผิวสัมผัส
Visitors: 148,362