เครื่องหมาย Q

เครื่องหมาย "Q"

เครื่องหมายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ใช้ในการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร

เพื่อแสดงถึงความมีคุณภาพและความปลอดภัยตามมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือมาตรฐานสากลอื่นๆ พร้อมทั้งมีรหัสเพื่อป้องกันการปลอมแปลงใบรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ (Test Report) และตรวจสอบย้อนกลับได้เมื่อสินค้าเกิดปัญหา

หน่วยรับรอง (Certification Body : CB) ที่ให้การรับรองผู้ประกอบการในด้านต่างๆ เช่น

การรับรองผลิตภัณฑ์ (Product Certification)
การรับรองการบริหารงานคุณภาพ (Quality Management System Certification)
การรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management System Certification)
การรับรองระบบงานด้าน GMP/HACCP
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice : GAP) ด้านเกษตรอินทรีย์ Organic Agriculture

หน่วยรับรองระบบงาน (Accreditation Body) มีหน้าที่ในการให้การรับรองระบบงาน แก่หน่วยรับรอง CB ให้เป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องตามหลักสากล

ห้องปฏิบัติการฯ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 จากหน่วยรับรองระบบงาน (Accreditation Body : AB) ได้แก่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ที่ได้ดำเนินการขอขึ้นทะเบียนกับสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ห้องปฏิบัติการฯ สามารถทำการตรวจวิเคราะห์คุณภาพของสินค้าเกษตรและอาหารแล้วออกใบรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ (Test Report) เพื่อนำไปแสดงต่อกรม หรือ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เพื่อพิจารณาออกใบรับรอง(Health Certification) ในการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร

การรับรองสินค้า (Product Certification)

การตรวจสอบให้การรับรองสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์สุดท้าย (Finished product) โดยมีการสุ่มตัวอย่าง การทดสอบ และการตรวจสอบว่าสินค้ามีคุณลักษณะทางด้านคุณภาพและความปลอดภัยเป็นไปตาม มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร และมาตรฐานทั่วไปด้านความปลอดภัย เช่น สารพิษตกค้าง สารปนเปื้อน รวมทั้งมีการตรวจประเมินระบบการผลิตหรือกระบวนการผลิตว่าผู้ผลิตมีความ

สามารถในการรักษาคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าที่ผลิตอย่างสม่ำเสมอได้ตาม มาตรฐานสินค้า เช่น มาตรฐานเนื้อสุกร, มาตรฐานกระเจี๊ยบเขียว, กุ้งก้ามกาม เป็นต้น


รายละเอียดเพิ่มเติม http://www.acfs.go.th/qmark.php


มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช

เป็นมาตรการที่ครอบคลุมทั้งในด้านกฎหมาย กฎข้อบังคับ ข้อกำหนดและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์คุณภาพของผลิตภัณฑ์ขั้นตอนและวิธีการผลิต

การตรวจสอบวิเคราะห์ การพิจารณาอนุมัต ิออกใบรับรองการกักกันต่างๆ โดยมาตรการที่ออกมาต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้ในการตรวจวิเคราะห์และการประเมินข้อมูลที่ถูกต้องทางวิทยาศาสตร์ 

แต่ละประเทศได้กำหนดขึ้นแต่ต้องให้เป็นที่ยอมรับและสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ เช่น Codex, OIE , IPPC


Traceability  คือ การตามสอบสินค้าเกษตรและอาหารหรือตรวจสอบย้อนกลับ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นด้านอาหารปลอดภัยให้กับผู้บริโภค อีกทั้งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้สามารถพัฒนาศักยภาพการแข่งขันให้กับการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของไทยในเวทีการค้าโลก ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่ช่วยค้นหาสาเหตุหรือจุดที่เกิดปัญหาในกระบวนการผลิตในสินค้าประเภทนั้นๆ เพราะมีการบันทึกข้อมูลที่เป็นระบบตั้งแต่แหล่งผลิต วิธีการผลิต การขนส่ง ไปจนถึงชั้นวางจำหน่ายสินค้าซึ่งผู้บริโภคสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
 
สำหรับการจัดเก็บข้อมูลสำหรับการตามสอบสินค้าเกษตรจะต้องมีรายละเอียดที่จำเป็นในการยืนยันความปลอดภัยครบถ้วน ได้แก่

    ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุดิบ
    กระบวนการผลิต
    การจัดหมวดหมู่สินค้า
    การกำหนดรหัสชุดสินค้า
    ข้อมูลคู่ค้าทั้งที่เป็นผู้ป้อนวัตถุดิบและผู้รับซื้อสินค้า
    ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
    ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสินค้า
    ข้อมูลมาตรฐานและกฎระเบียบที่กำหนดเกี่ยวกับสินค้าที่ผ

Visitors: 150,817