ชุดตรวจ EDCs/PPCPs สารรบกวนฮอร์โมน Endocrine Disrupting Compounds

ชุดทดสอบสารรบกวนฮอร์โมน Endocrine Disrupting Substances (EDS)

  • Triclosan,
  • Phthalates,
  • Dioxin
  • Polychlorinated biphenyls (PCBs),
  • Bisphenol A
  • Vitellogenin (Vtg)
  • etc.

 

Endocrine Disrupting Substances (EDS)

 

ฮอร์โมนเป็นสารที่หลั่งจากต่อมไร้ท่อ (Endocrine gland) และส่งไปตามกระแสเลือดเพื่อควบคุมการทำงานของอวัยวะเป้าหมาย ควบคุมเมแทบอลิซึมของร่างกายเพื่อให้การทำงานของร่างกายดำเนินได้อย่างปกติ การทำงาน ของระบบต่อมไร้ท่อไวต่อการถูกรบกวนจากสิ่งเร้าภายนอก และ ร่างกายก็มีความไวจากการกระตุ้นของฮอร์โมนด้วย ฮอร์โมนชนิดหนึ่งสามารถควบคุมการสังเคราะห์ของฮอร์โมนอีกชนิดหนึ่งได้ และมีผล ต่อการทำงานของร่างกาย ตัวอย่างเช่น ฮอร์โมนของสัตว์น้ำจะสามารถควบคุมพฤติกรรมการผสมพันธุ์ การย้ายถิ่นฐาน การสะสมไขมัน ในร่างกาย การจำศีล การลอกคราบ ของแมลง กุ้ง และปู

สารรบกวนฮอร์โมน Endocrine Disrupting Substances หรือ EDS เป็นสารที่มีผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์มาก

ในอดีต หลักฐานส่วนมากของผลกระทบจากสารรบกวนการทำงานของฮอร์โมนมาจากการศึกษาในสัตว์หรือเซลล์ในหลอดทดลอง ปัจจุบันข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายของสารรบกวนการทำงานของฮอร์โมนที่เกิดในคน มีเพิ่มมากขึ้น จากการศึกษาทางระบาดวิทยาในสหราชอาณาจักรและ ประเทศเดนมาร์ก ชี้ให้เห็นว่าจำนวนอสุจิของผู้ชายลดลงและมีคุณภาพต่ำลง ซึ่งอาจมีผลมาจากสารรบกวนการทำงานของฮอร์โมน มะเร็งเต้านมในเพศหญิงอีกหนึ่งผลกระทบที่น่ากลัว การศึกษาในผู้หญิงพบว่า ถ้ามีการกระตุ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจนมากกว่าปกติจะมีผลต่อการทำงานของรังไข่ ท่อนำไข่ การเจริญพันธุ์ และมีการเพิ่มจำนวนเซลล์ในมดลูกและเนื้อเยื่อเต้านม ซึ่งในที่สุดจะทำให้เกิดมะเร็งเต้านม

 

EDS แบ่งได้ออกเป็น 5 ชนิด

 

1. สารที่รบกวนกลไกลของระบบต่อมไร้ท่อ

จากการศึกษากลไกในการรบกวนการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ  สามารถแบ่งสารรบกวนฮอร์โมนได้3ประเภท ได้แก่

  i.) สารเลียนแบบฮอร์โมน (hormone mimics)
สารกลุ่มนี้จะทำตัวเหมือนฮอร์โมนในร่างกาย เช่น Diethylstibestrol (DES) เป็นสารเอสโตรเจนสังเคราะห์

  ii.) สารขัดขวางการทำงานของฮอร์โมน (hormone blockers)
สารกลุ่มนี้จะไปแย่งกับตัวรับ (protein receptors) ของฮอร์โมน ตัวจริง ทำให้ฮอร์โมนตัวจริงจับกับตัวรับไม่ได้ ทำให้ไม่มีการกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนตัวจริง เช่น DDE (เป็นสารที่แตกตัวมาจาก ยาฆ่าแมลง DDT)

  iii.) สารกระตุ้น (triggers)
สารกลุ่มนี้จะรบกวนการทำงานของ ฮอร์โมนโดยไปวางตัวติดกับตัวรับของฮอร์โมน (attaching to protein receptors) แล้วกระตุ้นให้เซลล์ตอบสนองอย่างผิดปกติไปจากการตอบสนองของฮอร์โมนตัวจริง ตัวอย่างเช่น dioxin

สารรบกวนฮอร์โมน ที่พบในชีวิตในประจำวัน Polychlorinated biphenyl (PCBs) dioxins


PCBs นี้เป็นสารที่ใช้ในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น หม้อแปลง ไฟฟ้า จากการศึกษาในห้องปฏิบัติการพบว่า ไข่ปลาไม่สามารถพัฒนาได้เมื่อได้รับ PCB และ dioxins ในปริมาณต่ำ ส่วน dioxins เคยนำมาใช้เป็น ยาปราบวัชพืชและสารรักษาเนื้อไม้ dioxin มักจะเกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการ เผาไหม้ และบางกระบวนการในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น กระบวนการผลิต chlorinated hydrocarbons กระบวนการผลิตพลาสติกชนิด polyvinyl chloride (PVC) และการผลิตกระดาษ พบว่าหนูที่อยู่ในระหว่างตั้งท้องเมื่อได้รับ dioxin ในปริมาณต่ำจะให้กำเนิดลูกเพศผู้ที่มีระบบสืบพันธุ์ผิดปกติ

2. ยาฆ่าแมลง (pesticides)
มีหลักฐานชี้ว่า ยาฆ่าแมลงในกลุ่ม Organochlorine ได้แก่ indane,atrazine, DDT มีความเสี่ยงสูงในการก่อมะเร็งเต้านมและสารซึ่งมาจาก DDT (DDT metabolites) สามารถขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนเพศชาย และมีอวัยวะสืบพันธุ์เพศชายผิดปกติ เช่น ในกรณีจระเข้ตีนเป็ดที่ตรวจพบสาร DDE ในร่างกายจะมีลึงค์ที่ไม่พัฒนาเต็มที่


3. Phthalates สารประกอบของพลาสติก
Phthalates ใช้กันอย่างแพร่หลายในกระบวนการผลิตพลาสติกโดยใช้ phthalates เป็น pesticeser ทำให้พลาสติกยืดหยุ่นได้ พบว่าสารกลุ่มนี้มีพิษต่ออัณฑะ และสามารถเลียนแบบการทำงานของ oestradiol


4. สารในผลิตภัณฑ์ซักฟอก (Alkylphenols และอนุพันธ์)
สารกลุ่มนี้ใช้กันอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมผลิตสารซักฟอก (detergents) และโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องใช้สารซักฟอก ปัจจุบันสารกลุ่มนี้ห้ามใช้ในกลุ่มยุโรป อย่างไรก็ตามยังพบว่า ประเทศนอกกลุ่มยุโรปยังมีการใช้สารเหล่านี้ในสารซักฟอกในครัวเรือนซึ่งน่าเป็นห่วงมาก เนื่องจากสารพวกนี้ทำงานคล้ายเอสโตรเจน (Oestrogenic)


5. สารที่ใช้เคลือบกระป๋อง (Bisphenol A)
เป็นสารที่ใช้กันในงานทันตกรรม ใช้เคลือบภาชนะกระป๋องสำหรับบรรจุอาหารและการผลิตพลาสติก เมื่อเร็วๆ นี้พบว่าสารนี้รั่วไหลจากเคลือบกระป๋องเข้าสู่อาหารได้ จากการศึกษาบ่งชี้ว่าสารนี้มีฤทธิ์เป็นเอสโตรเจน (Oestrogenic) ต่อเซลล์มะเร็งเต้านมในหลอดทดลอง และยังมีสารเคมีอื่นๆ อีกมากมายที่มีผลต่อการทำงานของเอสโตรเจนได้แก่ Butylated hydroxyanisole (BHA) ซึ่งใช้เป็นแอนติออกซิแดนต์ในอาหาร Vinclozolin ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อราและสารในพืชอีกหลายชนิด ซึ่งรวมเรียกว่า Phytoestrogens

 

 

BpA บีสฟินอล-เอ เป็นองค์ประกอบของพลาสติกประเภทโพลีคาร์บอนเนต (Polycarbonate) ที่หลุดออกจากภาชนะ บรรจุภัณฑ์ของพลาสติกขวดพลาสติก พลาสติกหุ้มอาหาร เมื่อไปสะสมสะสมในร่างกาย จะเป็นอันตรายจนป่วยเป็นโรคหัวใจ เบาหวาน และมีความผิดปรกติของเอนไซม์ในตับ 

 

Visitors: 148,364